วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

พึงเป็นศิษย์มีครู (ผู้รู้ยิ่ง) พึงนั่งใกล้ ผู้เป็นพหูสูต ไม่พึงทำสุตะ..ให้เสื่อม ตั้งใจฟัง ทำใจให้ใส ให้เลื่อม อย่าให้ใจกระเพื่อม ขาดสติ

 พึงเป็นศิษย์มีครู
(ผู้รู้ยิ่ง)

พึงนั่งใกล้ ผู้เป็นพหูสูต
ไม่พึงทำสุตะ..ให้เสื่อม
ตั้งใจฟัง ทำใจให้ใส ให้เลื่อม
อย่าให้ใจกระเพื่อม ขาดสติ

เป็นศิษย์มีครู เป็นผู้กำกับ
คอยกำชับ กำชา สั่งสอน
เดินทางตรง ไม่คด แน่นอน
พ้นทุกข์ร้อน นอนเย็น
สุตะ เป็นราก พรหมจรรย์
ขยัน หมั่นทบทวน
พิจารณา ให้ถี่ถ้วน
ซาบซึ้ง ทุกส่วน กระบวนความ
ฟังคำครู แล้วตรองคำครู
กระทั่ง รู้จริง แตกฉาน
ไม่เพียงงูๆปลาๆ เท่านั้น
ด้วยโยนิโสมนสิการ พินิจพิเคราะห์
สำคัญนัก ธรรมานุธรรมะปฏิบัติ
เมื่อรู้แจ้งชัด ธรรมปฏิบัติ จะมา
โยนิโสมนสิการ จึงสำคัญนักหนา
 อรรถกถาจารย์ จึงมี
โยนิโสมนสิการ คิดอ่าน ให้เข้าใจ
ถ้าคิด ก็คิดได้ ปรุโปร่งแจ่มแจ้ง
เป็นลักษณะของจิต ที่สมาธิแรง
เมื่อจิตไม่แบ่ง มีสติ
เพราะฉนั้น การเป็นผู้ทรงธรรม
รู้จริงยิ่งล้ำ มันจำเป็น
พรหมจรรย์ ไม่เล่นๆ
ต้องมีครู ผู้รู้ผู้เห็น เป็นสำคัญ

;;;;;;;;;;

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น