วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ความตระหนี่ (ต้นเหตุทุกข์ทั้งหลาย) :: ให้ตั้งจิต อธิษฐาน อย่าได้มีมัน ความตระหนี่ เป็นมลทินของชีวี ทุกข์ทั้งหลาย ที่มี เป็นมัน

ความตระหนี่
(ต้นเหตุทุกข์ทั้งหลาย)
ให้ตั้งจิต อธิษฐาน
อย่าได้มีมัน ความตระหนี่
เป็นมลทินของชีวี
 ทุกข์ทั้งหลาย ที่มี เป็นมัน 
ความข้องขัด สารพัดปัญหา
จงรู้ว่า มีมาจากมัน ตระหนี่
เมื่อไม่ให้ บุญที่ใช้ ให้สุขสำเร็จ ไม่มี
บาปตัวดี ความตระหนี่ ปิดกั้น
ทางสายกลาง ทางเจริญ
ทางเดินของชีวิต
เป็นทางแห่งการให้ การอุทิศ
ทางชีวิต ทางแห่งการให้
ทานศีลภาวนา
พิจารณาให้ดี คือการให้
เริ่มให้ก้อนข้าว เป็นต้นไป
ให้ยิ่งใหญ่ ให้เมตตา
ให้แล้วมันได้บุญ
ให้แล้วไม่สูญ ได้บุญกลับมา
เป็นคนดี มีศรัทธา
ก็ด้วยว่า เชื่อบุญญา มีจริง
ทรัพย์ที่ได้มา มากน้อย
จงปล่อยออกไป ใช้ทำบุญ
อย่าหวง อย่ากักตุน
จงกตัญญูรู้คุณ บุญบารมี
หวงคือไล่ ให้คือเรียก
จงสำเหนียก ในการให้
เรื่องหลวงปู่ฯ เป็นอนุสรณ์ สอนใจ
ท่านเคยให้ อย่างอุกฤต
ในสมัยที่ท่านบวชใหม่ๆ
 ท่านบิณฑบาตไม่ได้อาหาร
ต้องอดข้าว ถึงสองวัน
เหนื่อยอ่อนสุดกลั้น แต่ท่านต้องทน
ในวันที่สาม ได้ข้าว๑ปั้น
รวมกัน กับกล้วยน้ำว้า๑ผล 
เพียงฉันได้ครึ่งปั้น ครึ่งผล บัดดล
ได้ยลเห็น เป็นหมาแม่ลูกอ่อนหิวโซ
 ตาโต กระดิกหาง ท่าทางหิวจัด
ไม่อาจฉันต่อ
คุณธรรมภายใน สะกิดใจ ให้พอ
โอ้หนอ ชีวิต
จึงตั้งจิต อธิษฐาน
ด้วยการบำเพ็ญทาน สละคำข้าว
ครึ่งก้อน กล้วยครึ่งผล ของเรา
บันดาลให้มีข้าว มีน้ำ เลี้ยงตนและคนอื่น
กลายเป็นทานปรมัตถบารมี
ด้วยสละชีวี ให้ทาน
วัดปากน้ำฯ จึงเหมือนมีปาฏิหาริย์
มีโยมทำทาน เป็นตำนาน ถึงทุกวันนี้

;;;;;;;;;;

กราบพระรัตนตรัย (อานิสงส์ใหญ่ คิดไม่ถึง):: ธรรมสี่ประการ อันมี อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเป็นปกติธรรมดา จะ เจริญแก่ผู้ รู้จักอภิวาท

กราบพระรัตนตรัย
(อานิสงส์ใหญ่ คิดไม่ถึง)
พรสี่ประการ
อันมี อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเป็นปกติธรรมดา
จะ เจริญแก่ผู้ รู้จักอภิวาท
อภิวาท เป็นมารยาท กราบไหว้
พระรัตนตรัย ด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธา
กราบ เบญจางคประดิษฐ์ ท่านว่า
อวัยวะห้าแห่ง แตะพื้น
คุกเข่า และเอาฝ่ามือทั้งสอง
ศอก หน้าผาก แตะพื้น
กราบพระพุทธฯผู้รู้ผู้ตื่น
ไม่ดาษดื่น แต่เป็นของพื้นๆชาวพุทธ
กราบง่ายๆ แต่ได้อานิสงส์ใหญ่
ที่คนทั้งหลาย ใฝ่หา
อายุยืนยาว ผิวพรรณวรรณะ
สุขสมปราถนา และพละ มีสุขภาพ
การกราบ อาจยิ่งกราบยิ่งเมื่อย
กราบเรื่อยเปื่อย ไม่ได้อะไร
ไม่ได้กราบด้วยใจ
ไม่เอาสติไว้ ในตัว
เมื่อใจนิ่งอยู่ภายใน บุญไหล
ใจสดใส มีปีติ
บุญพระนิพพาน เป็นท่อธาร มาทันที
ดวงธรรมใสเต็มที่ มีสุข
ของง่ายๆ กลายเป็นยาก
ถ้าไม่รู้จัก ศรัทธา
การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
จึงเป็นมหา มงคล
ผู้บูชาพระรัตนตรัย ไม่ธรรมดา
ยังจะได้สมบัติ๖ โชคอนันต์
หนึ่ง ได้กาลสมบัติ คือได้เกิดในยุคนั้น
เกิดมาทัน พุทธศาสนา
สอง ได้คติสมบัติ
คือไม่ได้เกิดเป็นสัตว์ หรือเทวดา
ได้เกิดเป็นมนุษย์ สุดปราถนา
 เกิดมา สร้างบารมีได้
สาม ได้ประเทศสมบัติ
เกิดในแหล่งไม่ขาด พุทธศาสนา
สี่ ได้ตระกูลสมบัติ มีศรัทธา
ห้า ได้อุปธิสมบัติ มีความสามารถ มีความรู้
หก ได้ทิฏฐิสมบัติ เป็นสัมมา
ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
โชคประเสริฐ หกอย่างนี้
ใครเกิดมี นี้คือมนุษเทโว

;;;;;;;;;;

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สัตบุรุษ (คนดีแท้):: เราได้ เพราะเคยให้ ไว้ก่อน หลักคำสอน แก่นธรรม นำชีวิต

สัตบุรุษ
(คนดีแท้)
เราได้
เพราะเคยให้ ไว้ก่อน
หลักคำสอน
แก่นธรรม นำชีวิต
บุญวาสนา
มีจริง วิ่งตามติด
เร่งคิด
เร่งสร้าง ทางกุศล
ชาวนา
ปลูกข้าว ได้ข้าว
ชาวเขา
ปลูกงา ได้งา
ชาวเรา
ปลูกบุญ ได้บุญญา
บุญวาสนา
เป็นที่มา สุขสำเร็จ
อย่ารอช้า
เร่งหา บุญ
ทำให้คุ้น
เป็นสาย ไม่มีช่อง
บาปอัปรีย์
มิห่าง คอยจ้อง
คอยสอดส่อง
หาช่อง เข้ามา
บุญบาปทะยอยไหล
โถมใส่ ชีวิต
บุญประสิทธิ์
สมปราถนา ทุกประการ
บุญมาปัญหาหมด
บุญลด ปัญหากั้น
รู้ทัน
ชีวิต คิดหา แต่บุญ
บุญอจินไตย
ให้ สมปราถนา
ทำชั่วช้า
เป็นบาป ให้ทุกข์
บาปบุญ
อยู่เบื้องหลัง ทุกข์สุข
อยากสนุก
ทุกข์ถนัด ฉลาดหรือโง่ 
ธัมมัญญุตา
รู้จักบุญ คุณสมบัติ
ผู้ฉลาด
มีปัญญา สัตบุรุษ
ธรรมธาตุ
สะอาด บริสุทธิ์
เมตตาสุด
มนุษย์ได้พึ่ง จึงสร้างบารมี

;;;;;;;;;;

หนีวัฏฏะ (สัตบุรุษ):: ธัมมัญญุตา ธรรมะ ของสัตบุรุษ ผู้มีปัญญาสุด ของมนุษย์ คือผู้ รู้จักบุญ

หนีวัฏฏะ
(สัตบุรุษ)
ธัมมัญญุตา
 ธรรมะ ของสัตบุรุษ
ผู้มีปัญญาสุด
ของมนุษย์ คือผู้ รู้จักบุญ
ทุ่มเทใจ
ให้กับการแสวงบุญ
อย่างเร่งลุ้น
 แสวงบุญ สร้างบารมี
ผู้มีลาภยศฯมาก
ไม่แน่นัก ว่ามีปัญญา
อาจไม่รู้สา
 เพียงแต่ว่า กินบุญเก่า
มีความรู้ความสามารถนัก
อาจเพียงรู้จัก ทางโลก
ไม่อาจหนีทุกข์โศก
จากโลกธรรม
 ธัมมัญญุตา
รู้จักบุญญานั้น
 มีอัตถัญญุตา เป็นสำคัญ
คือจรดใจมั่น ที่ศูนย์กลางกาย
อัตถัญญุตา
วิธีหาบุญ
คือตั้งใจไว้ที่ศูนย์ฯ
ได้บุญทับทวี
อัตตัญญุตา 
เกิดปัญญารู้จักตน
ต้องการหลุดพ้น
กายคนหยาบ เหมือนบ้าน
มัตตัญญุตา
รู้จักประมาณ
คือตัดตัณหา ความอยากทะยาน
ใจตั้งมั่น หยุดนิ่ง
กาลัญญุตา
รู้จักใช้เวลา ทำกิจสำคัญ
ฝึกใจหยุดใจนิ่งนั้น
สำคัญที่สุด
ปริสัญญุตา
ที่สุดนั่นหนา จะต้องเข้าวัด
สมัคคีคือพลัง พาลาไม่อาจ
อยู่ข้างนอก สารพัด อันตราย
ปุคคลปโรปรัญญุตา
เข้าพึ่งพา ผู้มีบารมี
วัฏฏสงสารนี้
มีภัยมาก
การแสวงบุญสร้างบารมี
เพื่อหนีวัฏฏะ
จำต้องพึ่งพระ
ผู้มีบารมี

;;;;;;;;;;

ทางบัณฑิต (ทางพ้นทุกข์):: ธัมมัญญุตา ธรรมะของ สัตตบุรุษ รู้ดีสุด เรื่องทฤษฎี ที่เรียนรู้

ทางบัณฑิต
(ทางพ้นทุกข์)
ธัมมัญญุตา
ธรรมะของ สัตตบุรุษ
รู้ดีสุด
เรื่องทฤษฎี ที่เรียนรู้
รู้จักบุญคือธรรม
ค้ำชีวิต
ด้วยบุญลิขิต
ชีวิตจึงเจริญ
รู้วิธีปฏิบัติ
อัตถัญญุตา
แตกฉานเนื้อหา
ศึกษาเรียนรู้
ปฏิบัติได้ผลดียิ่ง
รู้จักตนจริง อัตตัญญุตา
รู้แจ่มแจ้ง กระทั่งว่า
หิริโอตัปปะ เกิด
 จึงมานะอดทน
ฝึกตน ทนกิเลส
ตามทางสายกลาง แสนวิเศษ
ทนกิเลส มัตตัญญุตา
กาลัญญุตา เพียรพยาม
กิจวัตรงาม สม่ำเสมอ
 สมาธินำ สุขล้ำเลิศเลอ
ปานละเมอ ใจหยุด ผุดผ่อง
แสงสว่างแจ่มจ้า
ปัญญาเกิด
รู้เห็นประเสริฐ
เกิดศรัทธายิ่ง
 ไม่อาจอยู่นิ่งๆที่บ้าน
ใจมันบาน ต้องการมาวัด
กับหมู่คณะ ธรรมะปฏิบัติ
 นี่หละชัด ปริสัญญุตา
 ปริสัญญุตา
รู้ว่า มาถูกวัด
 ได้พบครู ยิ่งศรัทธาจัด
 มาวัดไม่ขาด ศรัทธาแรง
 ปุคคละ ปโร ปรัญญุตา 
เหมือนหลวงพ่อธัมมฯ พบปะยายฯ
 เป็นอจินไตย
ด้วยยายฯ ใครๆไม่ชอบ
นี้คือทางบัณฑิตา
ผู้มีปัญญา ทางธรรม
บุญชี้นำ
เลิศล้ำ ชีวิต

;;;;;;;;;;