วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สั่งสมบุญเร็วไว (ความแก่ความตายมีแน่) ห้วงน้ำเต็มฝั่ง พัดไม่ยั้ง ทุกสิ่ง ทุกข์ยิ่ง ความแก่ความตาย ชีวิตในโลกา นี้สั้นหลาย หลังตาย ยังทุกข์อนันต์ ในสังสารวัฏ

 สั่งสมบุญเร็วไว
(ความแก่ความตายมีแน่)


ห้วงน้ำเต็มฝั่ง พัดไม่ยั้ง ทุกสิ่ง
 ทุกข์ยิ่ง ความแก่ความตาย
 ชีวิตในโลกา นี้สั้นหลาย
หลังตาย ยังทุกข์อนันต์ ในสังสารวัฏ


ทำพระนิพพานให้แจ้ง เป็นกิจกรณีย์
เพื่อชีวี พ้นกฎไตรลักษณ์ อันตราย
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
สุขหลาย สมปราถนา ทุกประการ

กาลย่อมล่วงลา ราตรีย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัย ย่อมละไปตามลำดับ
ผู้เห็นภัยในมรณะ จึงขยับ
ไม่มัวนอนหลับ ปล่อยวันเวลา

บุญนำสุขมาให้ ในเวลาสิ้นชีวิต
เหมือนมีมารดา ตามติด บุตรน้อย
ส่วนบาป เหมือนเหยี่ยวร้าย จ้องคอย
คนบุญน้อย ทุกข์แน่ๆ อนันต์

บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า
อย่ารอช้า แสวงบุญสร้างบารมี
ผู้ประมาท ทุกข์หลาย จงตั้งสติ
ชีวิตนี้ เป็นของน้อย เวลาไม่คอยใคร

ไม่ควรเลือก บุญเล็กบุญใหญ่
บุญเป็นอจินไตย ไม่ว่ามากหรือน้อย
อีกอย่าง กาลเวลานั้น ไม่คอย
และน้ำหยดน้อย..นี้หละ ทำให้ตุ่มเต็ม

   ผู้มีปัญญา จึงสะสมบุญทีละน้อย
ไม่รอคอย..บุญใหญ่ บุญไหนๆก็ทำ
ทำทุกบุญ บุญเล็กบุญน้อย ขอย้ำ
ได้โอกาศเป็นทำ ทุกบุญ

;;;;;;;;;;

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เป็นมนุษย์สุดยาก (หากไม่แสวงบุญ) ชีวิตสัตว์ เหมือนภาชนะดิน มีการพังพิน สลาย ไปเป็นที่สุด ความตายเป็นธรรมดา ไม่อาจหยุด ชีวิตมีสิ้นสุด จงเร่งรุด ทำความดี

 เป็นมนุษย์สุดยาก
(หากไม่แสวงบุญ)


ชีวิตสัตว์ เหมือนภาชนะดิน
มีการพังพิน สลาย ไปเป็นที่สุด
ความตายเป็นธรรมดา ไม่อาจหยุด
ชีวิตมีสิ้นสุด จงเร่งรุด ทำความดี

หลังตาย เวียนว่ายในวัฏฏะ
ยากมากๆ ที่จะ เกิดเป็นคนได้
 เป็นมนุษย์ สุดแสนยาก ท่านว่าไว้
ยากสุดใจ ยิ่งกว่าเต่าตาบอด

 ทุกร้อยปี ขึ้นมาที จากท้องทะเลลึก
หัวสวมฉึก เข้าในบ่วง พอดีได้
เป็นมนุษย์ ยากกว่านั้น อจินไตย
เป็นมนุษย์ โชคดีหลาย ได้ทำความดี

เว้นแต่ว่า เป็นนักสร้างบารมี
กิจกรณีย์ ติดตาม หลวงปู่ฯ
มีที่พักกลางทาง ดุสิตบุรี มีอยู่
แล้วลงมาสู่..โลก ในเวลาเหมาะสม

ทรัพย์สักนิด ก็ติดตาม ไปไม่ได้
รู้แล้วไซร้  
มิควรอาลัย ได้สติ
ทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญสร้างบารมี
รีบทำความดี รักษาปีติ เข้าไว้

 บุญเท่านั้น ติดตามท่าน ดุจมารดา
ส่วนบาปนั่นหนา ประหนึ่งว่า ศัตรู
แสวงบุญสร้างบารมี จึงต้องรู้
เพื่อกอบกู้ชีวิต มีสิทธิ์ ไปสวรรค์

ทั้งคนมีคนจน หนีไม่พ้น ความตาย
จะช้าอยู่ใย ตัดอาลัยให้ขาด
แสวงบุญสร้างบารมี สุดสามารถ
ทำพระนิพพานให้แจ้ง ให้ชัด ปณิธาน

;;;;;;;;;;

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

คนเก่งแท้ๆ (ได้แก่เก่งบุญ) เก่งงาน เก่งคน และเก่งบุญ จึงเก่งแท้ เก่งงานนั้น ได้แก่ มีฉันทะ คือมีความสุข สนุกกับงาน เท่านั้นหละ ส่วนเงินนั้นหนา ผลพลอยได้

 คนเก่งแท้ๆ
(ได้แก่เก่งบุญ)

เก่งงาน เก่งคน และเก่งบุญ จึงเก่งแท้
เก่งงานนั้นแน่ ได้แก่ มีฉันทะ
คือมีปีติสุข สนุกกับงาน ทุกขณะ
มีบุญวาสนา..คอยหนุน อบอุ่นโชคดี

ส่วนคนทั้งหลาย มีเป้าหมาย อยู่ที่เงิน
เพลิน อยู่กับเงิน ดูสมบูรณ์พูนสุข
สั่งสมเงิน เพลินโลกีย์ กลบทุกข์
โลกียสุข..นี้ เหมือนไฟ ไม่อิ่มเชื้อ

มีเท่าใดไม่รู้จักพอ ยิ่งขอเพิ่ม
เติมแล้วเติม อารมณ์เริ่มร้าย
กิเลสตัณหา พาประมาท เข้าเขตอันตราย
ห่างไกล จากทางธรรม ทางจำเริญ

ทำงานเพื่อเงิน ใจเพลินโลกีย์
เหมือนสุขนั้นมี แต่ยังมิพอใจ
เหมือนหลอกให้วิ่งตาม เอาให้ได้
ยิ่งเสพยิ่งร้าย ภัยสังคม

การทำงานมีฉันทะ รักงานไม่ใช่รักเงิน
มันแปลกเหลือเกิน เหมือนกันกับ รักความสะอาด
เป็นลักษณะของปัญญา ความสามารถ
งานถึงออกมาเด็ดขาด ปานเนรมิตร

เก่งคน เก่งล้น เคารพปฏิสันถาร
เคารพนั้น คือการฟัง อย่างเมตตา
เมื่อพูด พูดอย่างมารดา
มีความปราถนา..ดี อย่างที่สุด

เก่งบุญ คือคนดี มีความสุข
ปราถนาให้ทุกคน ปราศจากทุกข์ พ้นภัย
สงเคราะห์ญาติกา พาพ้นมารร้าย
มีศรัทธาใน เส้นทางบุญ

เก่งงานเก่งคนไม่ได้ ถ้าไม่เก่งบุญ
ดังนั้น จงเร่งลุ้น แสวงบุญสร้างบารมี
ตั้งเป็นกรณียกิจ ของชีวี
และมุ่งมั่นเต็มที่ ทำพระนิพพานให้แจ้ง

;;;;;;;;;;

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ชีวิตทั้งหลาย (เป็นไปตามกฎแห่งกรรม) อันความดี คนไม่ดีทำยาก เหมือนกันนัก กับคนไข้ ไม่ชอบน้ำเย็น คนชั่ว เหมือนแมลงวัน ชอบของเหม็น คนดี เป็นเช่น..แมลงภู่ ชอบของหอม

 ชีวิตทั้งหลาย
(เป็นไปตามกฎแห่งกรรม)

อันความดี คนไม่ดีทำยาก
เหมือนกันนัก กับคนไข้ ไม่ชอบน้ำเย็น
คนชั่ว เหมือนแมลงวัน ชอบของเหม็น
คนดี เป็น เช่นแมลงภู่ ชอบของหอม

ทำกรรมใด ไม่ร้อนใจในภายหลัง
มีแต่สุขสมหวัง เป็นกรรมดี
ผลของกรรม ยากเห็น..ในชาตินี้
จึงยากที่จะมี ผู้เชื่อกฎแห่งกรรม

 หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ชาวสวน ปลูกมัน ย่อมได้มัน
ชาวนา ปลูกข้าวย่อมได้ข้าว เช่นกัน
ทำกรรม ย่อมแม่นมั่น เป็นไปตามกรรม

ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดีแน่
ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่วแท้ แน่นอน
แต่คนทั้งหลาย เป็นคล้ายหมู่หนอน
ยอมม้วยมร เป็นหนอนต่อไป

ใคร่ครวญก่อน จึงค่อยทำดีกว่า
ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
ใจเร็วด่วนได้ ระวังไว้ บาปกรรม
ทำบาปเพียงนิด ขอย้ำ กรรมอนันต์

พึงอุตสาหะ รักษาความดีของตนไว้
ทำให้ได้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
สั่งสมความดี ให้เข้ม
ขจัดความเค็ม..ของบาปกรรม

พึงเป็นผู้ รู้คุณคน
ด้วยชีวิตหนีไม่พ้น ความเดือดร้อน
ผู้รู้คุณ ย่อมได้รับการสนับสนุน แน่นอน
คนกตัญญู ไม่ม้วยมร ตกน้ำไม่ไหลฯ

;;;;;;;;;;

พึงรักษาจิตตน (เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน) พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน ต้องขนาดนั้น การรักษาจิต จิตนี้เบายังกับปุยนุ่น ไหวตามลมทุกทิศ การรักษาจิต..ยากนัก หากไม่ศรัทธา

พึงรักษาจิตตน
(เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน)


 รักษาจิตตน เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน
ต้องขนาดนั้น การรักษาจิต
จิตนี้เบายังกับปุยนุ่น ไหวตามลมทุกทิศ
การรักษาจิต..ยากนัก หากไม่ศรัทธา

บาปเกิดจากอารมณ์ไหว ที่ห้ามใจยาก
จงรู้จัก..ห้ามใจ จากอารมณ์นั้นๆ
การรักษาใจ ต้องรักษา ทั้งคืนว้น
แม้แต่ยามฝัน ก็ยังต้องฝันดี

สติกำหนด ลมหายใจเข้าออก ต้องบริบูรณ์
มิฉนั้น กายจิตก็ยังวุ่น หวั่นไหว
 กระทั่งลมหายใจหยุด จึงสิ้นสุดสมถะได้
ไม่หายใจแต่ไม่ตาย คล้ายปลาในน้ำ

ภูเขาหินแท่งทึบหนา ไม่ครณาด้วยแรงลม ฉันใด
บัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว ต่อคำนินทาสรรเสริญ ฉันนั้น
จึงมีใจสงบสุข หมดทุกข์ ชั่วนิรันดร์
ใจหยุดใจนิ่งแน่น นั้น เป็นบัณฑิต

ผู้ฝึกตน คือคนบัณฑิต
ฝึกตน คือฝึกจิต ให้หยุดนิ่งแน่น
อยู่เหนือโลก หมดทุกข์โศก ไม่โลดแล่น
ดิ่งเข้าแกน เข้าถึงแก่น คือพระรัตนตรัย

พระรัตนตรัยในตัว ก็คือตัวเรา
เป็นตัวเก่า ดั้งเดิม
เหินห่างมานาน ด้วยหมู่มารเหิม
สอดแซกจิตเดิม ด้วยกิเลส

ทำพระนิพพานให้แจ้ง ก็เพื่อเข้าถึงแหล่งนี้
แหล่งที่มี พระรัตนตรัย
จะได้พ้นกฎแห่งกรรม อันตราย
พ้นการเวียนว่าย ในวัฏฏะ

;;;;;;;;;;

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ทำบาปเล็กน้อย (แต่กรรมไม่น้อยอจินไตย) โลก ถูกจิตนำไป ไม่ใช่อะไรอื่น อากาศโลก สังขารโลก เลวลงหรือฟื้น ขึ้นกับจิต ไม่ใช่ พระเจ้าหรืออินพรหม เนรมิต ถูกจิต ของสรรพชีวิต นำไป

ทำบาปเล็กน้อย
(แต่กรรมไม่น้อยอจินไตย)


โลก ถูกจิตนำไป ไม่ใช่อะไรอื่น
 โลก ฟื้นไม่ฟื้น ขึ้นกับจิต
ไม่ใช่ พระเจ้าหรืออินพรหม เนรมิต
ถูกจิต ของสรรพชีวิต นำไป

 จิต เป็นที่สถิตย์ ของบุญบาป
คอยกำกับ สั่งจิต ให้ก่อกรรม
เกิดเป็นสังสารวัฏฏ์ หรือโลก ที่ลึกล้ำ
มีกฎแห่งกรรม กฎมาร จัดการทั้งหมด

ทั้งดินฟ้าอากาศ ภัยพิบัติต่างๆ
เป็นวิบาก กลับมาล้าง เป็นธรรมดา
สมแก่กรรม ที่ทำไว้ นั่นหละ
ส่วนคนดีมีธรรมะ จะปลอดภัย

จิตที่ฝึกดีแล้ว เป็นแก้ว นำสุขมาให้
 หยุดนิ่งให้ได้ ไม่หวั่นไหว กิเลสตัณหา
 ให้ใจ มีสันโดษสมถะ
มีจาคะ ประหยัดสุด ประโยชน์สูง

จิตมีอานุภาพ มีบุญกำกับอยู่
นำสุขมาสู่ และสมปราถนา
บุญเป็นสิทธิธาตุ คนไม่รู้
ส่วนบาปนำทุกข์มาสู่ มาล้มล้าง

ประพฤติตามใจ ใช่ ย่อมลำบาก
ไม่รู้จักอดทน อดกลั้น
มีอุปสรรคปัญหา ต้องฝ่าฟัน
สู้ไม่ยั่น ต่อโลกโลกีย์

ไม่อดทนอดกลั้น ไม่รู้ทันกิเลส
ได้ก่อเหตุ แห่งทุกข์ไว้
เมื่อถึงขีดถึงคราว จงอย่าตกใจ
จะมีมหาภัย แม้ทำชั่วไว้ เพียงเล็กน้อย

การทำชั่ว จึงไม่ควรทำจริงๆ
หลังตาย บาปทวีมากยิ่ง อจินไตย
ผู้ประมาท มีทุกข์ยิ่งกว่าตาย
พระผู้รู้เวทนาหลาย จึงขวนขวาย สร้างบารมี

;;;;;;;;;;

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ศีลเยี่ยมยุทธ (สุดอัศจรรย์) ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธ ใดไม่เทียบ สูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับ อย่างเยี่ยมยุทธ ศีลเป็นเกราะ ที่สุด อัศจรรย์

ศีลเยี่ยมยุทธ
(สุดอัศ
จรรย์)


 ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ
ศีลเป็นอาวุธ ใดไม่เทียบ สูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับ อย่างเยี่ยมยุทธ
ศีลเป็นเกราะ ที่สุด อัศจรรย์

ศีลเป็นกำลัง ช่างแปลกนัก
 มีอานุภาพ มาจาก ความบริสุทธิ์
 เป็นน้ำเย็น เช่นอานุภาพพระพุทธ
ปราบมาร ที่กลัวสุด กลัวน้ำเย็น

ศีลเป็นอาวุธ สูงสุด ใดไม่เทียม
ยอดเยี่ยม..บริสุทธิ์ ประดุจพ่อแม่
ใครทำร้าย อยู่ไม่ได้ ตายแน่
เหมือนเทวทัต นั่นแหละ แพ้ภัยตน

ศีลเป็นเครื่องประดับ อย่างสูงสุด
จะมีบุคคลิก ประดุจ พญาราชสีห์
เป็นที่เคารพรักบูชา ประชาชี
เกิดศรัทธาเต็มที่ ปฎิบัติตาม

ศีลเป็นเหมือนเกราะแก้ว แวววับ
มีอานุภาพ 
ที่สุดอัศจรรย์
เพียงคิดทำร้าย กายจะแตกพลัน
สุดอัศจรรย์ อจินไตย

ศีลสำคัญ เป็นสะพาน ข้ามวัฏฏะ
ทานนั่นหนา เป็นเสบียง
ภาวนา เป็นเช่นตะเกียง
ทานศีลภาวนา เป็นเยี่ยง ชีวิตเรา

ศีลเป็นกลิ่น ที่ไม่มีกลิ่นใด ยิ่งกว่า
มีชื่อเสียงลือชา เทวดา และมนุษย์
เทวดาชอบนัก รักกลิ่นศีล สุดสุด
จึงรีบรุดลงมา รักษาผู้มีศีล

ศีลเป็นเครื่องลูบไล้ ประเสริฐสุด
มีผิวผ่องผุด ประดุจเทวดา
กลิ่นหอม ขจรทั่วทิศา
ไปไกลถึงชั้นฟ้า มหาพรหม

เพราะศีล มีกลิ่นขจรไปทุกทิศ
ไปไกล ไม่มีขีด..จำกัด
ปวงมนุษย์และเทวา ได้สัมผัส
ยังกับนัด นิยม ชมชื่น

;;;;;;;;;;