วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พึงรักษาจิตตน (เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน) พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน ต้องขนาดนั้น การรักษาจิต จิตนี้เบายังกับปุยนุ่น ไหวตามลมทุกทิศ การรักษาจิต..ยากนัก หากไม่ศรัทธา

พึงรักษาจิตตน
(เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน)


 รักษาจิตตน เหมือนคนประคองบาตรน้ำมัน
ต้องขนาดนั้น การรักษาจิต
จิตนี้เบายังกับปุยนุ่น ไหวตามลมทุกทิศ
การรักษาจิต..ยากนัก หากไม่ศรัทธา

บาปเกิดจากอารมณ์ไหว ที่ห้ามใจยาก
จงรู้จัก..ห้ามใจ จากอารมณ์นั้นๆ
การรักษาใจ ต้องรักษา ทั้งคืนว้น
แม้แต่ยามฝัน ก็ยังต้องฝันดี

สติกำหนด ลมหายใจเข้าออก ต้องบริบูรณ์
มิฉนั้น กายจิตก็ยังวุ่น หวั่นไหว
 กระทั่งลมหายใจหยุด จึงสิ้นสุดสมถะได้
ไม่หายใจแต่ไม่ตาย คล้ายปลาในน้ำ

ภูเขาหินแท่งทึบหนา ไม่ครณาด้วยแรงลม ฉันใด
บัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว ต่อคำนินทาสรรเสริญ ฉันนั้น
จึงมีใจสงบสุข หมดทุกข์ ชั่วนิรันดร์
ใจหยุดใจนิ่งแน่น นั้น เป็นบัณฑิต

ผู้ฝึกตน คือคนบัณฑิต
ฝึกตน คือฝึกจิต ให้หยุดนิ่งแน่น
อยู่เหนือโลก หมดทุกข์โศก ไม่โลดแล่น
ดิ่งเข้าแกน เข้าถึงแก่น คือพระรัตนตรัย

พระรัตนตรัยในตัว ก็คือตัวเรา
เป็นตัวเก่า ดั้งเดิม
เหินห่างมานาน ด้วยหมู่มารเหิม
สอดแซกจิตเดิม ด้วยกิเลส

ทำพระนิพพานให้แจ้ง ก็เพื่อเข้าถึงแหล่งนี้
แหล่งที่มี พระรัตนตรัย
จะได้พ้นกฎแห่งกรรม อันตราย
พ้นการเวียนว่าย ในวัฏฏะ

;;;;;;;;;;

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น