วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เคารพคารวะ (น่าสอนสั่ง) เคารพ หรือคารวะ มาจากคุรุ แปลว่าหนัก หรือตระหนัก ไม่สัก..แต่ฟังแต่อ่าน ผ่านๆไป ไม่ดูเบา เหมือนคนเขลา ไม่เอาไหน ไม่ปล่อยให้วันเวลาผ่านๆไป อย่างไร้ประโยชน์

 เคารพคารวะ
(น่าสอนสั่ง)

เคารพ หรือคารวะ มาจากคุรุ แปลว่าหนัก หรือตระหนัก
ไม่สัก..แต่ฟังแต่อ่าน ผ่านๆไป
ไม่ดูเบา เหมือนคนเขลา ไม่เอาไหน
ไม่ปล่อยให้วันเวลาผ่านๆไป อย่างไร้ประโยชน์

ผู้มีความเคารพคารวะ พูดจาน้อย คอยฟัง
กระหายความรู้ประดัง จึงฟังมากพูดน้อย
แสวงหาความรู้จากตำรา มีมานะไม่ถอย
ผ่านสำนักใหญ่น้อย ศึกษาดู ให้รู้แจ้ง

ผู้มีความเคารพคารวะ จะมีกิริยา น่าสอนสั่ง
ตรงข้ามกับ ดื้อด้านดันทุรัง ของคนโง่
ผู้มีปัญญา มีลักษณะ คารุโว
เป็นลักษณะของปราชญ์ใหญ่โต มหาบัณฑิต

ปราชญ์แท้ ไม่ใช่แค่รู้มาก ปากไว
ต้องเป็นคนมีวินัย น่าเลื่อมใสด้วย
ความดีสากลห้าประการ จึงต้องสวย
เริ่มต้นด้วย สะอาด ระเบียบ และมารยาท นั่นเอง

วินัย คือเครื่องทำให้วิเศษ แตกต่าง
มีรูปร่าง งามสง่า น่ามอง
ได้ลักษณะมหาบุรุษ เป็นที่สุด หนึ่งไม่มีสอง
เป็นลักษณะของ.. ธรรมกาย พระรัตนตรัยในตัว

พระกับมาร ต่างกันไกล ที่วินัยนี่เอง
ส่วนปัญญานั้น เก่ง พอพอกัน
มีฤทธาอานุภาพ เทียมทัน
ดังนั้น อย่าหลงกลมาร เพียงการเห็นอานุภาพ

อยากเป็นพระโพธิสัตว์ ต้องไม่ขาดน้ำใจ
สรรพสัตว์น้อยใหญ่ ทุกข์หลาย เวียนว่ายสังสาระ
 กอบกู้ธรรมธาตุ ขจัดมารา
สร้างบารมี เป็นหมู่คณะ พาคนเข้าวัด

เมื่อมีอุปสรรคปัญหา ใช้ขันติเป็นตบะ ชนะมาร
ไม่ห้ำหั่น ไม่ทำร้าย หรือไม่สู้ อยู่ในบุญ
ไม่หนี คือมีวินัย และทำดีเรื่อยไป จดใจไว้ที่ศูนย์
หมู่มารหัวหมุน แพ้บุญบารมี

;;;;;;;;;;

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น