พระในพุทธศาสนา
(เปรียบว่า เป็นอาทิตย์อุทัย)
(เปรียบว่า เป็นอาทิตย์อุทัย)
ให้พระลงบิณฑบาต เป็นวัตร กิจกรณีย์
ไม่ทรงให้ทำมาหากิน ด้วยศีลของสงฆ์นั้นมี
ศีลบริสุทธิ์ดี มิเป็นปัญหา ปัจจัยสี่มาเอง
ทำมาหากินสุจริตล่อ สมบัติมารอ พร้อมพรั่ง
แต่การมีศีล ต้องตั้งใจวิรัติ บุญจึงจะประดัง
วิรัติมีสามอย่าง สมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติ และสมุจเฉทวิรัติ
ว่าตามพระสงฆ์ท่าน ไตรสรณคมณ์ ผสมศีลห้า
ตั้งเจตนาวิรัติ เว้นขาด ไม่ทำชั่วช้า
เพียงง่ายๆเท่านี้หละ จะซื้อง่ายขายคล่อง กำไรงาม
เพียงง่ายๆเท่านี้หละ จะซื้อง่ายขายคล่อง กำไรงาม
ตั้งท่า จะพูดผิด ทำผิด คิดได้ทัน
นึกถึงการผิดศีลา ช่างน่า หวาดหวั่น
ลงนรกโลกันต์ จึงตั้งสติอดกลั้น อดทน
ด้วยหมดกิเลส ใจเกลี้ยงเกลา ใสสว่าง
กรรมอันใด ไร้เจตนาทำลายล้าง
เป็นกรรมเบาบาง เหมือนดั่ง ตาลยอดด้วน
เป็นที่พึ่งของประชา ผู้แสวงหาบุญ
ปลูกฝังศรัทธา เมื่อได้เห็นพระ จิตจะอบอุ่น
บุญเกื้อหนุน สังคมสมบูรณ์ พูนสุข
ชาวประชาเห็นพระ เป็นทัศนานุตริยะ ที่ประเสริฐ
เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช ศรัทธาเกิด
ได้เห็นสามเณรน้อย ผู้ประเสริฐ บิณฑบาต
เกิดจิตเคารพ จึงเข้าพบ น้อมนบไหว้
ได้ฟังธรรม ตรองตาม ศรัทธาไสว
ชีวิตพลิกผันเปลี่ยนไป อย่างยิ่งใหญ่ ฝักใฝ่ทางธรรม
ทิ้งทางสนุก ทุกข์ถนัด ที่มีแต่ขัดข้อง
มาสู่เส้นทางธรรม สวยงาม อร่องฉ่อง
หนึ่งไม่มีสอง เส้นทางสายกลาง
มีปลาเล็กใหญ่ ไล่ กัดกิน
โกลาหล กระเสือกกระสน สุดชีวิน
โอกาสสิ้น มืดมน อนธกาล
เปล่งแสงใส อุ่นละไม แก่สรรพสัตว์
ชาวประชา กราบก้ม ประนมหัตถ์
นำอาหารสารพัด ใส่บาตร ชื่นใจ
;;;;;;;;;;
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น