วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

มีสัตบุรุษ (เป็นที่สุดของมงคล) ได้ใกล้ชิดสัตบุรุษ เป็นที่สุด ของผู้ต้องการความเจริญ แม้พบพานโดยบังเอิน เพียงครั้งเดียวก็ตาม

มีสัตบุรุษ
(เป็น
ที่สุดของมงคล)


 ได้ใกล้ชิดสัตบุรุษ เป็นที่สุด ของผู้ต้องการความเจริญ
แม้พบพานโดยบังเอิน เพียงครั้งเดียวก็ตาม
ชีวิตพลิกผัน ช่างอัศจรรย์เหลือล้ำ
ส่วนอสัตบุรุษ แม้พบเป็นประจำ ไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น

สัปปุริสสูปสังเสวะ การได้ฟังธรรมสัตบุรุษ สุดประเสริฐ
มีชีวิตบันเจิด ขึ้นได้ง่ายๆ
ส่วนอยู่ร่วมกับอสัตบุรุษ แม้อยู่ด้วยกัน จนวันตาย
ก็ยังงมงาย โง่เง่า เป็นเต่าอยู่เหมือนเดิม

ชีวิตเราเกิดมา มีหน้าที่ หาครูดีสัตบุรุษ 
โชคดีสุด ของมนุษย์ ได้เดินตามท่าน
เหมือนคุณยายฯ หรือหลวงพ่อฯ อย่างนั้น
ชีวิตของท่าน ตามหาครูอาจารย์ ก่อนอื่น

หลวงปู่ฯหลวงพ่อฯคุณยายฯ ไม่ธรรมดา
มีคุณวิเศษ ยากจักหา ท่านเป็นสัตบุรุษ
มหาชนถวายชีวิต อุทิศเพื่อท่าน กันอุตลุด
ท่านสอนคน รักษาตนให้บริสุทธิ์ เป็นที่สุดของชีวิต

ในพุทธกาลสมัย ครหทินน์ ได้อาศัยสิริคุตต์
จึงได้เข้าถึง องค์พระพุทธเจ้า
หลวงพ่อครูไม่เล็ก ได้อาศัย หลวงพ่อครูไม่ใหญ่ ของเรา
จึงได้เลิกลาวิชามาร ของเก่า
เข้าถึงคุณยายฯ


สัตบุรุษมีลักษณะ ๗ ประการ ค้นหาท่านให้พบ
แล้วน้อมนบ เข้าหา ฝากตัวเป็นศิษย์
ละทิ้งเพื่อนเก่า ชวนกินเหล้า ให้สนิท
เดินไปยังทิศ ที่สว่าง ทางสวรรค์

สัตบุรุษ มีลักษณะ ธัมมัญญุตา ข้อที่หนึ่ง
คือรู้ยิ่งถึง เรื่องโลก และชีวิต
รู้ลึกซึ้ง ถึงเรื่องความบริสุทธิ์ ความถูกต้องดีงาม ที่มารปกปิด
ใครจะคิด บุญบาปลิขิต ชีวิตให้เป็นไป

มีคนจำนวนมาก ยังมากมิจฉาทิฏฐิ
ขาดสัมมาสติ คิดว่าเป็นฝีมือของพระเจ้า
งมงาย สวดอ้อนวอน ขอพรเอา
แม้ได้มา แต่เจ้า..รู้ไหม ไม่ต่างอะไรกับปลาหลงเหยื่อ

ข้อสอง อัตถัญญุตา รู้จักว่าผล ของบุญบาป
เป็นกรรมวิบาก วัฏฏจักร ของกฎแห่งกรรม
ฉายออกมาจากใจ ปรากฎออกไป เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน
เป็นภาพซ้ำกัน..กับอดีต อย่าคิดว่าเป็นของใหม่

เมื่อรู้ว่าเป็นภาพเก่า เราจึงต้องอดทนอดกลั้น
 ชดใช้มัน และยังได้ขันติบารมี
เรื่องร้าย กลับกลายเป็นดี
และสำคัญที่ รู้ทัน หรืออัตถัญญุตา

ข้อที่สาม อัตตัญญุตา รู้จักว่าตนเป็นอะไรบ้าง
เป็นหลายๆอย่าง 
เป็นพ่อเป็นแม่..ฯเป็นต้น
ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตน
ที่สำคัญเหลือล้น เป็นมนุษย์ หน้าที่ดีสุด จงรีบรุด เร่งสร้างบารมี

ข้อที่สี่ มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ หรือพอดี
ซึ่งจะต้องมีปัญญาดี จึงจะพอดีได้
มีสติ หยุดใจไว้ในตัว จึงต้องใช้
หยุดภายนอกไม่ได้ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

หยุดใจไว้ในตัว ใจจึงสุข ถูกเมตตา
ความปราถนา..ลามก จะไม่มี
ใจรักสันโดษมักน้อย จึงค่อยมีความพอดี
ความมักมากไม่มี ความพอดีจึงเกิด

  ข้อที่ห้า กาลัญญุตา รู้จักว่า เวลาเป็นของน้อย
เวลาไม่คอย ไม่มีถอยมา
 ปรารภความเพียรเร็วไว อย่าปล่อยไป เวลา
ทำพระนิพพานให้แจ้ง เร็วๆเข้าหนา อย่าประมาท

 ข้อที่หก ปริสัญญุตา เข้ากับหมู่คณะได้
อดทนไว้ เพื่อจะได้ สร้างบารมี
เหมือนคุณยายฯ ยอมคนได้ ปัญหาจึงไม่มี
ชีวิตยอมพลี ไม่สู้ไม่หนี ทำดีเรื่อยไป

ข้อที่เจ็ด ปุคคลปโรปรัญญุตา ไม่ธรรมดา มองคนออก
เหมือนครูไม่ใหญ่ ดูคุณยายฯออก บอกว่าใช่
จึงกราบ ฝากตัวเป็นศิษย์ ติดตามไท้
วัดพระธรรมกาย ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยฝีมือยายฯสัตบุรุษ

;;;;;;;;;;

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น