วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

อุเบกขา (ใจหยุด หลุดเข้ากลาง) อุเบกขา คือใจหยุด จึงหลุด เข้ากลาง อันเรียกว่าปล่อยวาง สิ่งต่างๆ ภายนอกได้ หยุดแล้วเคลื่อน เลื่อน เข้าข้างใน ใจสดใส สว่างไสว ยิ่งกว่าเดิม

อุเบกขา
(ใจหยุด หลุดเข้ากลาง)
อุเบกขา คือใจหยุด จึงหลุด เข้ากลาง
อันเรียกว่าปล่อยวาง สิ่งต่างๆ ภายนอกได้
หยุดแล้วเคลื่อน เลื่อน เข้าข้างใน
ใจสดใส สว่างไสว ยิ่งกว่าเดิม
ดังนั้น การปล่อยวาง คนละอย่างกับ ปล่อยทิ้ง
การปล่อยวางได้จริง ใจจะนิ่ง และสุขมากๆ
มีคุณธรรมเมตตา กรุณา ประจัก
เสียสละยิ่งนัก แม้ชีวิต เพื่อสถิต ความยุติธรรม
การดูดาย ไม่ใช่อุเบกขา แต่ว่าคือการปล่อยทิ้ง
เห็นคนเดือดร้อน ยังนิ่ง ไม่ขวนขวายช่วยเหลือ
มนุษย์ คือคนใจสูง มีใจเอื้อเฟื้อ
ส่วนคนพาล เค็มเหมือนเกลือ ไม่เผื่อแผ่ผู้ใด
 เมื่อใจหยุด แปลกนัก ใจหลุดจากกายหยาบ
รู้สึกกายหยาบนั้น คล้ายกันกับ บ้านเรือน
หมดอาลัยกามคุณ ไม่วุ่นโลกธรรม
สุขเหลือล้ำ อยู่เฉยไม่ได้ เข้าไปอนุเคราะห์
อุเบกขา หาญกล้า สละชีวิต
อุทิศตน เพื่อคนทุกทิศ ทั่วหล้า
 พระโพธิสัตว์ กระโดด หน้าผา
เมื่อเห็นแม่เสือ หิวนักหนา จะกินลูก
เรื่องส่วนตัว วางอุเบกขา 
เรื่องศาสนา อุเบกขาวาง
 เข้าไปยับยั้ง ไม่ดูดาย ตัวตายก็ช่าง
ปราบมาร ที่ห้าวหาญ คลุ้มคลั่ง
 เป็นความหวัง ของ
ศาสนา และมหาชน
 หยุดใจได้ จึงใช่ ยุติธรรม
มีปัญญา กล้าล้ำ ไม่กลัวตาย
มีอานุภาพ คุ้มครอง ผองภัย
ประชาอุ่นใจ เทิดไท้ ไว้เหนือเศียร

 
;;;;;;;;;;

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น