ฝึกตนได้
(คือหยุดใจไว้ในตน)
เมื่อฝึกตนได้ จึงควรไปฝึกคนอื่นด้วย
จะสวย เมื่อมีดี แล้วแบ่งปัน
เหมือนความสว่างไสว ของดวงตะวัน
งามเฉิดฉัน ด้วยแบ่งปัน ความสว่าง
คุณธรรมจาคะ คือไม่ตระหนี่ ความดีของตน
ความหลุดพ้น..แท้ ได้แก่ แผ่ออกไป
ฝึกตนได้ นิ่งเฉย นั้นไม่ใช่
เมื่อปีติดีใจ นิ่งเฉยไม่ได้ มันเป็นไปเอง
ความดีนี่แปลกประหลาด ไม่อาจตระหนี่
การทำทานจึงมี นี้เป็นธรรมดา
ด้วยใจปีติ เกิดมีศรัทธา
ดังนั้น การเจริญภาวนา อุปการะชีวิต
ใจนิ่งใจหยุด ได้บุญหลาย ใจปีติจะมา
อยากเข้าวัดเข้าวา มาแสวงบุญ
บัณฑิต ฝึกตน ฝึกใจจนคุ้น
จึงแสวงบุญ สร้างบารมี เป็นนิสัย
สัมมาสมาธิ มีใจปีติ เป็นเครื่องหมาย
สมาธินอกกาย ไม่ได้ปีติ
ได้แต่ความสว่าง กระจ่างดี
ความเมตตาไม่มี เหมือนฤาษีชีไพร
นักคิดค้นทั้งหลาย ก็คล้ายฤาษี
ใช้สมาธินอกกายี ประดิษฐ์คิดค้น
คิดค้นได้ หาประโยชน์ใส่ตน
สมาธินอกตน..นี้ คนตระหนี่ มีตัณหา
คนฝึกตนได้ จึงมิใช่ธรรมดา
เป็นบัณฑิตตา รู้จักฝึกใจ อยู่ในตน
หนีกระแสตัณหา นอกกายา พ้น
ปีติเหลือล้น จึงขวนขวาย ให้ปัน
;;;;;;;;;;
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น