วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567

ฆ่าความโกรธได้ (อยู่เป็นสุข) ความโกรธครอบงำ นรชนเมื่อใด ความมืดมนใจ ย่อมมีเมื่อนั้น สติดับ ปัญญาหายวับ เช่นกัน เป็นปุถุชน คนพาล บาปหนา เมื่อนั้น

 ฆ่าความโกรธได้
(อยู่เป็นสุข)

ความโกรธครอบงำ นรชนเมื่อใด
ความมืดมนใจ ย่อมมีเมื่อนั้น
สติดับ ปัญญาหายวับ เช่นกัน
เป็นปุถุชน คนพาล บาปหนา
 

ความโกรธ น้อยแล้วมาก
มันเกิดจาก ความไม่อดทน
ขาดศรัทธา ไม่สั่งสม บุญกุศล
ขาดการฝึกตน ฝึกสติ

ความโกรธ เป็นอารมณ์
ของคน มีปัญญาทราม
คนพาล ใจมืดดำ
ไม่รู้จักความดีงาม ไม่รู้จักบุญกุศล

โทสะ มีความโกรธเป็นสมุฏฐาน 
มีใจหุนหัน แล้วไม่ยับยั้ง
ด้วยมีทิฏฐิมานะ เป็นกำลัง
สติ เป็นมิจฉาสั่ง อย่างเมามัน

ผู้จับ เสมอด้วยโทสะ ไม่มี
ไม่อาจหลีกหนี และสุดร้าย
เหมือนไฟป่า มหาภัย
เผาไหม้ทุกอย่าง กระทั่งความดี

ความผิด เสมอด้วยโทสะไม่มี
ยากเหลือที่ สติจะตั้ง
จะมีความทุกข์ เป็นกำลัง
ไม่หวัง ก็จะได้ ไปอบายภูมิ

ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
หมดทุกข์ หมดร้อน นอนสบาย
ฝึกตนฝึกสติ ได้ง่ายๆ
เป็นคนดี ขวัญใจ มหาชน

;;;;;;;;;;

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567

มนุษย์คือคนดี (มีใจสูง) มนุษย์ คือคนดี มีใจสูง ชีวิตมุ่ง แสวงบุญ สร้างบารมี เป็นเสบียง เลี้ยงชีวี ขณะที่ เวียนว่าย ในวัฏฏะ

 มนุษย์คือคนดี
(มีใจสูง)

 
มนุษย์ คือคนดี มีใจสูง
ชีวิตมุ่ง แสวงบุญ สร้างบารมี
เป็นเสบียง เลี้ยงชีวี
ขณะที่ เวียนว่าย ในวัฏฏะ

หลังตาย นานหลาย เวียนว่าย
อจินไตย ยากหลาย เป็นมนุษย์
เป็นแหล่ง แห่งเดียว ยากสุด
เป็นมนุษย์เท่านั้น แสวงบุญได้
ผู้แสวงบุญไม่ขาด ได้เกิดบนสวรรค์
ส่วนผู้ประมาทนั้น ลงอบาย
ทุกข์เหลือล้น อยากตายก็ไม่ได้
ทุกข์หลาย นานหลาย อบายภูมิ
เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็ยากอยู่แล้ว
การแสวงหาแก้ว หรือบุญ ยิ่งยาก
ด้วยตัณหา เข้ามาผูกมัด
เป็นกับดักสัตว์ ของหมู่มาร
หมู่มาร มันต้อนสัตว์ไปอบาย
เป็นอจินไตย คล้ายล่าสัตว์
เป็นที่สนุกสนาน เป็นชีวาต
ชีวิตมาร ไม่อาจขาด ธรรมชาติมาร
วัฏฏสงสาร มี ๓๑ ภูมิ
 มีสองกลุ่ม สุคติ กับทุคติ
โลกมนุษย์ อยู่ใน สุคติ
อบายภูมิสี่ เป็นทุคติ ภูมิแห่งทุกข์
เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน สัตว์นรก
ปุถุชน จะไปตก ในภูมินี้
ประมาท ไม่แสวงบุญสร้างบารมี
ปุถุชนนี้ เหมือนไก่ ได้พลอย

;;;;;;;;;;

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567

หมดตระหนี่ (หมดทุกข์โศก) ผู้ใด ข้ามพ้น กามได้ ยากหลาย ข้ามได้ยากสุด ตัณหา เป็นเครื่องผูก หมดตระหนี่ หมดสนุก หมดทุกข์โศก

หมดตระหนี่
(หมดทุกข์โศก)

ผู้ใด ข้ามพ้น กามได้
ยากหลาย ข้ามได้ยากสุด
ตัณหา เป็นเครื่องผูก
หมดตระหนี่ หมดสนุก หมดทุกข์โศก
ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่อ อุปธิกิเลส
น่าสมเพช เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
ผู้รู้ ผู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ มีน้อย
ที่คอยระวัง ถอยห่างอุปธิ
ผู้โลภ ไม่รู้อรรถสาระ
ผู้โลภ บาปหนา ไม่เห็นธรรม
เมื่อความโลภเข้าครอบงำ
ความมืดดำ ย่อมมีเมื่อนั้น
ท่านทั้งหลายจงตัดป่า กิเลส
ป่าเป็นอาเพท อย่าตัดต้นไม้
ป่า ขึ้นคลุมฆ่า ไม้น้อยใหญ่
จงรักษาต้นไม้ คุณความดี
ความโกรธไม่ดีเลย
ใจไม่สะเบย ร้อนเร่า
ปัญญาดับ เหมือนกับไฟเผา
ผิวของเจ้า หยาบกร้าน ปานตอตะโก
ความโกรธ เป็นดังสนิมศัสตรา
มีปัญญา แต่ใช้ไม่ได้
ถูกความมืด ปิดบังไว้
ความจำหดหาย ได้หน้าลืมหลัง
ความโกรธ ก่อความพินาศ
ไม่ประหลาด เหมือนไฟป่า
เผาไหม้ทุกอย่าง ที่ขวางหน้า
ความโกรธา เป็นยิ่งกว่าไฟ
;;;;;;;;;;

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567

ผู้มีสติตื่น (ไม่ขมขื่นโศกเศร้า) ผู้นึกถึง พระนิพพาน ใจเบิกบาน ไม่ง่วงเหงา ไม่ประมาทซึมเศร้า ไม่มัวเมา ไม่หลงทะนงตัว

 ผู้มีสติตื่น
(ไม่ขมขื่นโศกเศร้า)

ผู้นึกถึง พระนิพพาน
ใจเบิกบาน ไม่ง่วงเหงา
ไม่ประมาทซึมเศร้า
ไม่มัวเมา ไม่หลงทะนงตัว

ผู้ไม่คำนึงถึง สิ่งที่ยังไม่มา
และไม่อาลัยหา สิ่งที่ล่วงไปแล้ว
มีสติอยู่กับตัว ใสแจํว
สุขสันติ์แล้ว ปลอดภัยในผัสสะ
ไม่พึง เพลิดเพลินของเก่า
และไม่เขลา ไปพึงพอใจของใหม่
เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป
ก็ไม่พึงอาลัย เพราะมันใช่ตัณหา
สัตว์โลก มีมฤตยู ความตาย
 ถูกล้อมว้ ด้วยชรา
ถูกลูกศรเสียบ คือตัณหา
 ถูกไฟอิจฉา ไหม้แล้วทุกเมื่อ
หมู่สัตว์ มีมานะทิฏฐิ ถือตัว
จึงเมามัว ด้วยมีเครื่องร้อยรัด
แข่งดี เพราะถูกทิฏฐิมานะมัด
 จึงมิอาจ ล่วงสงสารไปได้
ผู้หลง ย่อมไม่รู้อรรถ
ผู้หลง นั้นชัด ไม่เห็นธรรม
คนใดเมื่อใด ความหลงครอบงำ 
ความมืดมิดดำ ย่อมมีเมื่อนั้น
ผู้ใด ไม่มีกังวลว่า
นี้ของเราของข้า นี้ของผู้อื่น
ผู้นั้นเมื่อไม่ถือ ปล่อยว่าง สติตื่น
ย่อมชื่นมื่น ไม่ขมขื่นโศกเศร้า

;;;;;;;;;;

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

ความตระหนี่ (นี้เป็นต้นทุกข์) กามทั้งหลาย เป็นของเผ็ดร้อน ไม่เหมือนหนอน แต่เหมือนงูพิษ คนที่หมกมุ่น โง่สนิท มีชีวิต แออัดในนรก ตลอดกาลนาน

 ความตระหนี่
(นี้เป็นต้นทุกข์)

กามทั้งหลาย เป็นของเผ็ดร้อน
ไม่เหมือนหนอน แต่เหมือนงูพิษ
คนที่หมกมุ่น โง่สนิท
มีชีวิต แออัดในนรก ตลอดกาลนาน 

คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง อวดดี
 ขี้โอ่ เพ้อเจ้อ เหลวไหล
ย่อมไม่งอกงาม ในธรรมวินัย
ที่พระจอมไตร ทรงแสดง 
 พระอริยะ สรรเสริญ ฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีโคนเป็นโทษ ปลายหวาน
เพราะเมื่อตัดความโกรธ ได้แล้วนั้น
ย่อมไม่โศกศัลย์ เป็นทุกข์
ผู้มีความเพียร ไม่พึงนอนมาก
รู้จัก เสพธรรมเครื่องตื่น
พึงละ ความเกียจคร้าน ความครึกครื้น
ละความหื่น โหยหา และเครื่องประดับ
คน ที่เห็นแต่โทษผู้คน
สน แต่เพ่งโทษคนอื่นนั้น
อาสวะ จะเพิ่มพูน แม่นมั่น
เขาเหล่านั้น ยังไกลความสิ้นอาสวะ
เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่ง
ในธรรม ๒ อย่าง สมถะ และวิปัสสนา
เมื่อนั้นกิเลสเครื่องตรึงตรา
ย่อมไม่อาจจะ ตั้งอยู่ได้
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า
ล้วนมีอวิชชา เป็นราก
มีอิจฉาและโลภะ เป็นลำต้น จงรู้จัก
ความตระหนี่ สำคัญนัก ตัวร้าย

;;;;;;;;;;

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567

เลิกอยากลาหยอก (ออกจากกาม) ปุถุชน เหมือนคน ลูกศรแทง ย่อมแล่นไปทุกแห่ง ทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว จึงหยุดสนิท ไม่คิดแล่นโลด และปลอดโปร่งใจ

 เลิกอยากลาหยอก
(ออกจากกาม)

ปุถุชน เหมือนคน ลูกศรแทง
แล่นไปทุกแห่ง ทั่วทิศ
ถอนลูกศรนั้นได้ จึงหยุดสนิท
 มีจิตตั้งมั่น ไม่กระสันอยาก

โลภะ โทสะ โมหะ
เกิดจากตัวข้า ตัวเอง
ย่อม เบียดเบียน เสงเครง
ฆ่าตนเอง ดุจขุยไผ่ ฆ่าต้นไผ่

กาม ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
มีทุกข์ขมขื่น มีพิษมาก
ดังก้อนเหล็กที่ร้อนนัก
จงประจักษ์ มีทุกข์หนักเป็นผล

โลก ถูกอวิชชาปิดบัง น่าสลด
ไม่ปรากฎ เพราะตระหนี่ ประมาท 
 ความอยาก เป็นเครื่องฉาบ
คนไม่ทราบ เป็นภัยใหญ่ ของโลก
โลก มีความอยาก ผูกมัดไว้
 หลุดได้ ใจหมดอยาก
 ความอยาก ละได้ยาก
ละอยาก จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวง
ความอยาก ชักลากนรชนไป
 ความอยาก ละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมาก เป็นเหมือนนก
 ที่ตก อยู่ในบ่วงดัก
ผู้วางเฉย มีสติทุกขณะ
ไม่สำคัญตนว่า เสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือ ว่าต่ำกว่าเขา
ผู้นั้นชื่อว่า กิเลสเครื่องเศร้า ไม่ฟูขึ้น

;;;;;;;;;;

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567

ทุกข์ด้วยตัณหา (พาเวียนว่าย) ผู้ถอน ภวตัณหาได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เลิกเวียนว่าย สิ้นสุดแล้วกรรมเวร ย่อมเป็น ผู้ไม่มีภพ เป็นจบกัน

ทุกข์ด้วยตัณหา
(พาเวียนว่าย)

ผู้ถอน ภวตัณหาได้
ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น  
เลิกเวียนว่าย สิ้นสุดแล้วกรรมเวร
 ย่อมเป็น ผู้ไม่มีภพ เป็นจบกัน

 ผู้รู้โทษ อย่างนี้ว่า
 ตัณหา เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา พาสนุก
จึงไม่ถือมั่น มีสติอยู่ทุก อิริยาบถ

กาม ตระการ หวานชื่นใจ
 ย่อมย่ำยีจิต ในรูปร่างต่างๆกัน
บุคคล ผู้เห็นโทษในกามนั้น 
สันโดษ สุขสันติ์ ปานนอแรด
บุคคล พึงละความโกรธ
เพื่อละสังโยชน์ เครื่องข้อง
เพราะทุกข์ทั้งหลาย เป็นของ
ผู้ยังข้อง มีความโกรธ

ตัณหา ยังคนให้เกิด
จิตที่ไม่ประเสริฐ ย่อมวิ่งพล่าน
สรรพสัตว์ยังท่องเที่ยวไป อนันตกาล
 หนีไม่พ้นมัน ความทุกข์

ตัณหา ยังคนให้เกิด
จิตที่ไม่ประเสริฐ ย่อมวิ่งพล่าน
สรรพสัตว์ ยังท่องเที่ยวไป อนันตกาล
หนีไม่พ้นมัน มีกรรมนำหน้า

โลก ถูกตัณหาก่อขึ้น
มืดทมึน ถูกชราล้อมไว้
ถูกมฤตยู ชี้เป็นชี้ตาย
โลกนี้ไซร้ ตั้งอยู่ในทุกข์

;;;;;;;;;;

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

ปุถุชน (คนมืดหนา) ความอยาก ย่อมเสือกไสคน ไปตามถนน โลกีย์ คนทั้งหลาย ตามกันไป ทางนี้ เหมือนที่ น้ำไหล ไปลงทะเล

 ปุถุชน
(คนมืดหนา)

ความอยาก ย่อมเสือกไสคน
ไปตามถนน โลกีย์
คนทั้งหลาย ตามกันไป ทางนี้
 เหมือนที่ น้ำไหล ไปลงทะเล

ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
เผาไหม้ชีวี ไม่มีดับ
ตามไปทุกชาติ ไม่อาจนับ
ไม่มีดับ กลับจะมากขึ้นๆ
ความโลภ เป็นอันตราย
ธรรมทั้งหลาย เศร้าหมอง
ความตระหนี่ นี้ต้นเหตุ ของ
ภัยทั้งผอง ในโลกและชีวิต 
ความละโมบเป็นบาปแท้ 
จะแก้ ก็ด้วยการให้
บำเพ็ญทาน ได้บารมีใหญ่
ได้สมบัติอจินไตย ติดตาม
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี
ขาดสติ จึงไม่รู้ ก่อเวรกรรม
ชีวิตมีกฎ แห่งการกระทำ
กฎแห่งกรรม ครอบงำสรรพสัตว์
ผู้บริโภคกาม
ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ปล่อยไว้ ยิ่งลุกลามใหญ่
เหมือนไฟ ไหม้เชื้อ
ผู้บริโภคกาม เป็นผู้พร่อง
ตาจ้องมองหา สิ่งภายนอก
ใจไม่เป็นสุข เหมือนวอก
มีใจออก อยู่นอกตัว
ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเอง
คนเสงเครง ทำลายบุญ
บุญดังมารดา คอยค้ำจุน
ทำลายบุญ ทำลายตน
คนทั้งหลาย อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ 
ทิฏฐิ กลับกลาย เป็นมิจฉา
ปิดบังปัญญา ศรัทธา
ใจมืดหนา เห็นนรกเป็นสวรรค์

;;;;;;;;;;