วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ปัญญา (แก้วสารพัดนึก) ความสิ้นปัญญา ย่อมเกิดเพราะละ ธรรม ไม่อยู่ใน ความดีงาม ไม่มีบุญค้ำ ปัญญาทรามปรากฎ

 ปัญญา
(แก้วสารพัดนึก)

 
ความสิ้นปัญญา
ย่อมเกิดเพราะละ ธรรม
ไม่อยู่ใน ความดีงาม
ไม่มีบุญค้ำ ปัญญาทรามปรากฎ
ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข
เดินทางถูก เส้นทางธรรม
ทางสมบัติ ทางบุญค้ำ
สุขล้ำ ปลอดภัย
ปัญญาเป็นรัตนะ ของนรชน 
เป็นคนมีแก้ว สารพัดนึก
สมปราถนา เพียงตรองตรึก
ใจฝึก เจริญสติ มีปัญญา
ปัญญาเทียว ประเสริฐกว่าทรัพย์
หรือเท่ากับ ทรัพย์ประเสริฐ
เป็นบ่อที่ ทรัพย์เกิด
ปัญญา จึงเลิศคุณธรรม
ความพินิจ ฝึกสติ
ไม่มี ในคนไร้ปัญญา
เป็นปุถุชน ไม่รู้สา
เป็นคนธรรมดา เกิดมาเปล่า
ปัญญา ไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
บัณฑิต ฝึกจิต ฝึกใจ
ฝึกสติ พินิจ อยู่ภายใน
ศูนย์กลางกาย ที่หมายสำคัญ
คนเกียจคร้าน
ย่อมไม่พบพาน ทางปัญญา
ต้องฝึก ฝนแล้วฝน ทุกขณะ
ประคองใจ คือชีวา สุดชีวิต

;;;;;;;;;;

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

มนุษย์ (คนมีสัจจะ) ขอให้จริงเท่านั้น แล้วจะเอาอะไร เป็นคำของไท้ หลวงปู่ฯ ผู้มีสัจจะ นั้นน่าดู นำมาสู่ สุขสมปราถนา

มนุษย์
(คนมีสัจจะ)

ขอให้จริงเท่านั้น แล้วจะเอาอะไร
เป็นคำของไท้ หลวงปู่ฯ
ผู้มีสัจจะ นั้นน่าดู
นำมาสู่ สุขสมปราถนา

จริงจัง จริงใจ จริงแท้
แน่วแน่ มั่นคง
จริงจังต่องาน ไม่คดไม่โกง
ใจปลอดโปร่ง ตรงต่องาน
จริงใจต่อคน อดทนอดกลั้น
เหมือนมารดาท่าน รักบุตรสุดใจ
บุตรน้อย จะดื้อซนอย่างไร
ท่านยิ้มได้ ให้อภัยเสมอ
จริงแท้ แม้เวลาผ่านไป
ก็ยังคงไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง
จริงจังจริงใจ ในที่ทุกแห่ง
ใจไม่แห้ง ไม่แล้งน้ำใจ
สัจจะ มีอานุภาพอจินไตย
เหมือนแม่ไก่ ขับไล่เหยี่ยวร้าย
สัจจะ รักแท้ ให้ชีวิตได้
มหาชนร่วมใจ พระโพธิสัตว์
ผู้มีสัจจะ สุขสมปราถนา ด้วยบารมี
ทำความดี เป็นสาย เป็นนิสัย
นิสัยดี คือบารมี ยิ่งใหญ่
ติดตามไป อุปถัมภ์ ค้ำชีวิต
แสวงบุญสร้างบารมี กรณียกิจ
เป็นชีวิต ของมนุษย์
มีปัญญา มีศรัทธา พระพุทธฯ
ผู้เป็นมนุษย์ คือคนมีสัจจะ

;;;;;;;;;;

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สมณะ (สง่าสงบ) สมณะ สงบวาจา สงบสง่า ไม่ว่าร้ายใดใด ไม่ยกไม่กด ธรรมของตนหรือของใคร อันเป็นเหตุให้ ทะเลาะวิวาท

 สมณะ
(สง่าสงบ)

สมณะ สงบวาจา
สงบสง่า ไม่ว่าร้ายใดใด
ไม่ยกตนข่มท่าน สำคัญหลาย
อันเป็นเหตุให้ ทะเลาะวิวาท
 ผู้ถึงพร้อมด้วย สัมมัปปธานสี่
อันมีสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์
ดาดาษด้วยดอกวิมุตติ สุขสม
พ้นระทม อาสวะ จักปรินิพพาน
พระนิพพาน อันพระพุทธองค์แสดง
แจ้มแจ้ง ไม่มีโศก ปราศจากธุลี
เป็นที่ดับทุกข์ เกษมเปรมปรี
สุขเหลือที่ ไม่ถอนถอย
ไม่ควรเสพ ธรรมที่เลว
 ไม่ควรเหลวไหล ประมาท
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ วิบัติ
ไม่ควรเป็นสัตว์ รกโลก
 บุคคล เข้าถึงความเป็นกษัตริย์
สุดคาด ด้วยพรหมจรรย์ อย่างต่ำ
 เป็นเทวดา อย่างกลาง ชื่นฉ่ำ
 จะบริสุทธิ์ล้ำ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
แสงแห่งปัญญานี้ ไม่มีที่เปรียบ
ขจัดความมืด ของกิเลส เฉียบ
สุดเนียบ มองเห็นธรรม
ปัญญา เป็นแสงสว่าง 
 เห็นกระจ่าง กิเลสตัณหา
เห็นบุญเห็นบาป วิบากมารา
สำคัญนักหนา เป็นสัมมาทิฏฐิ

;;;;;;;;;;

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ฟังธรรมสำคัญนัก (เป็นรากแห่งพรหมจรรย์) พึงนั่งใกล้ ผู้เป็นพหูสูต ตั้งใจฟัง อย่าให้หลุด แม้คำเดียว สุตะ เป็นรากแห่งพรหมจรรย์ ทีเดียว เราต้องเชี่ยว เป็นผู้ทรงธรรม

 ฟังธรรมสำคัญนัก
(เป็นรากแห่งพรหมจรรย์)

พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต
ตั้งใจฟัง อย่าให้หลุด แม้คำเดียว
สุตะ เป็นรากแห่งพรหมจรรย์ ทีเดียว
เราต้องเชี่ยว เป็นผู้ทรงธรรม

บรรดาทาง ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด
 อริยสัจ ๔ เยี่ยมยุทธในบรรดาสัจจะ
บรรดาธรรม ประเสริฐสุด วิราคะ
ในสัตว์ ๒ เท้า พระพุทธา สุดประเสริฐ
นามและรูปย่อมดับได้ ไม่เหลือ
ดับได้เมื่อ วิญญาณดับ
ดับ ไม่เกิดใหม่ ทุกข์ก็ลับ
ขันธ์ห้าดับ นั่นหละ รังของทุกข์
สัจจะ ธรรมะ อหิงสา
สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด
อารยชน ย่อมกราบไหว้
 พ้นจากภัยอัตราย นี่หละ อมตธรรม
โลก มีกระแส
สติเท่านั้นแน่ กั้นกระแสได้
การเจริญสติ จึงยิ่งใหญ่
ต้านกระแสได้ ทำให้ใจหยุดนิ่ง
 ผู้มีจิตสงบ มีปัญญารักษาตัว
มีสติใส ไม่มืดมัว พินิจพิจารณา
ไม่มีเยื่อใย ในกามา
 ย่อมเห็นธรรมะ โดยชอบ
ละปปัญจธรรม เครื่องเนิ่นช้า
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่านี้
ย่อมมีพระนิพพาน เป็นที่ไป

;;;;;;;;;;

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สัตว์โลกเพลินโลกีย์ (ทุ่มชีวีหนีมัน คือบัณฑิต) ราชรถอันงดงาม ย่อมคร่ำคร่า แม้กายาของเรา ก็แก่เฒ่าชราได้ ส่วนธรรมสัตบุรุษ ไม่เป็นไร ย่อมรู้กันได้ ในสัตบุรุษด้วยกัน

 สัตว์โลกเพลินโลกีย์
(ทุ่มชีวีหนีมัน คือบัณฑิต)

ราชรถอันงดงาม ย่อมคร่ำคร่า
 แม้กายาของเรา ก็แก่เฒ่าชราได้
ส่วนธรรมสัตบุรุษ ไม่เป็นไร
ย่อมรู้กันได้ ในสัตบุรุษด้วยกัน

ผู้ฉลาดนั้น ขยันเพ่งพินิจ
เพียรทางจิต บากบั่นมั่นคง
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน ไม่มีหลง
 โยคะปลง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

ทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้น ตั้งขึ้น ยืนอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรใหม่
ไม่มีอะไรดับ นอกจากทุกข์

 ธรรมเป็นทาง อันควรเดินตาม
 ส่วนอธรรม ความเพลิน นำออกนอกลู่
อธรรมนำนรก มาสู่
ทางธรรม พาไปอยู่ สวรรค์

สัตว์โลก มีความเพลิน ผูกพัน
มีวิตกวิจาร นั้นบัณฑิต
ท่านเรียกว่า นิพพาน น่าคิด
ด้วยตัณหา ไม่มีสิทธิ์ เข้ามา

 ความสวัสดี ของสัตว์ทั้งหลาย
อาศัยปัญญา ความเพียร ระวัง การสละ
เบญจขันธ์ รากขาด ไม่สร้างปัญหา
สิ้นทุกข์แล้วหละ ไม่มีภพอีกต่อไป


ผู้ใด อยู่ในธรรมวินัย
หมดอาลัย ในโลกีย์
พากเพียร หนีวัฏฏะ เต็มที่
ผู้นั้น ย่อมมีพระนิพพาน เป็นที่ไป

;;;;;;;;;;

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ได้จักษุประเสริฐ (เทิดไท้ ด้วยประทีป) มาฆบูชา ขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๓ เหลืองอร่าม งาม จาตุรงคสันนิบาต วันพระธรรม วันสว่าง ของสรรพสัตว์ พระพุทธองค์ ทรงให้โอวาท สุดสำคัญ

 ได้จักษุประเสริฐ
(เทิดไท้ ด้วยประทีป)

มาฆบูชา ขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๓
เหลืองอร่าม งาม จาตุรงคสันนิบาต
วันพระธรรม วันสว่าง ของสรรพสัตว์
พระพุทธองค์ ทรงให้โอวาท สุดสำคัญ
พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ พร้อมหน้า
พระพุทธา ทศนา โอวาทปาฏิโมกข์
 อุดมการณ์ หลักการ หยิบยก
อีกทั้งวิธีการ ปาฏิโมกข์ อย่างแจ่มแจ้ง
 
อุดมการณ์ นั้น ให้อดกลั้นอดทน 
 เพื่อเป้าหมาย ไกลโพ้น พระนิพพาน
เลิกทำร้ายเบียดเบียน เลิกล้างผลาญ
 สร้างสุขสันติ์ สร้างสวรรค์ ให้แก่โลก
อุดมการณ์ คือเป้าหมายสูงสุด
 อย่าหยุด เว้นชั่วทำดี ทำใจใส
 เป็นหลักการ ยึดมั่น ให้ได้
 เพิ่มพูนบารมี เรื่อยไป หนีทุกข์
 
นอกจากนี้ ยังมี วิธีการ
หนึ่งนั้น ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้าย
สอง สำรวม ปาฏิโมกข์ ให้ได้
สามกินใช้ ให้..พอประมาณ 
 
สี่ นั่งนอน ในที่สงบ สงัด
ที่ไม่ข้องขัด ขจัด บาปอกุศล
 ห้า ทำสมาธิให้ได้ จิตใส ไม่กังวล
จิตเป็นกุศล สุขล้น สะบาย
วันมาฆะฯ บูชา พระองค์
 ด้วยประทีป บรรจง ประดิษฐ์
 อานิสงส์ จักษุประเสริฐ เกินคิด
ได้ใกล้ชิด มีศรัทธา ณ ที่เกิด
;;;;;;;;;;

เห็นสังขารเป็นทุกข์ได้ (ใจสุขอย่างยิ่ง) บุคคลควรเตือนกัน สอนกัน และปกป้องให้กัน จากคนพาลกาลี เพราะ ความจริงจังจริงใจ มีในคนดี คนพาล กาลี มิมีจริงใจ

 เห็นสังขารเป็นทุกข์ได้
(ใจสุขอย่างยิ่ง)

บุคคลควรเตือนกัน สอนกัน
และปกป้องให้กัน จากคนพาลกาลี
เพราะ ความจริงจังจริงใจ มีในคนดี
 คนพาล กาลี มิมีจริงใจ
ภิกษุ ผู้เห็นโทษในกาม
จึงมีความ ประพฤติ ประเสริฐ
ปราศจากตัณหา ด้วยสติเกิด
 คนประเสริฐ ย่อมไม่หวั่นไหว
กษัตริย์ ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม
ปุถุชน คนชั้นต่ำ ไม่มีธรรมอาศัย
ชนทั้งสอง ละโลกแล้ว ไม่ไปไหน
 ย่อมไปต่ำใต้ ทุคติ
ท่านผู้มีทางไกล อันได้บรรลุ
โศกไม่อยู่ ในธรรมทั้งปวง
กิเลสเครื่องรัด หลุดล่วง
 ย่อมไม่มีห่วง หมดความเร่าร้อน
พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ 
  พึงสละอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิต
พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต
สละทุกชนิด เมื่อคำนึงถึงธรรม
พึงเป็นผู้พอใจ และประทับใจ
ใน พระนิพพาน 
เป็นผู้ไม่ติดในกาม อันกันดาร
 ท่านผู้นั้น เป็นผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
 สังขาร ก็จริงอย่างยิ่ง เป็นทุกข์
เมื่อรู้เช่นนั้น ตามเป็นจริงแล้ว เป็นสุข
 ทุกข์ดับ กลับเป็นสุขอย่างยิ่ง

;;;;;;;;;;

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ผู้ประพฤติธรรม (เลิศล้ำปานได้แก้ว) ชนเหล่าใด ประพฤติธรรม ทำตาม ที่พระพุทธเจ้า กล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น ปานได้แก้ว แน่แล้ว จักข้ามแดนมฤตยูได้

ผู้ประพฤติธรรม
(เลิศล้ำปานได้แก้ว) 

ชนเหล่าใด ประพฤติธรรม
ทำตาม ที่พระพุทธเจ้า กล่าวดีแล้ว
ชนเหล่านั้น ปานได้แก้ว
แน่แล้ว  จักข้ามแดนมฤตยูได้

ผู้ใด ปรารถนา โภคทรัพย์
พร้อมกับ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาป ทุจริต
แล้วตั้งจิต ประพฤติสุจริตธรรม ๓
ผู้ใด ฟังธรรมแม้น้อย 
ก็ย่อม เห็นธรรมได้
ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ประคองใจ
ผู้นั้นแล ใช่ ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
ควรเลือกเฟ้นธรรม โดยแยบคาย
จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ ด้วยปัญญา 
ความหลุดพ้นแห่งใจ ย่อมมีมา
 เหมือนกับว่า ดับไฟ
ผู้เข้านิพพานแล้ว นับประมาณไม่ได้
หายไป เหมือนไม่มีตัวตน
ด้วยพ้นจาก เหตุและผล
เป็นอัตตาตัวตน อมตะ
ไม่มีคำ ที่จะกล่าวถึง
นิพพาน เป็นที่ซึ่ง เข้านิโรจน์
ไม่ทำกิจอย่างอื่น ทั้งหมด
สุขจากนิโรจน์ สุขสมบูรณ์

พึงขจัดตัณหา เหตุที่ถือมั่น
ไม่ว่ามัน อยู่ระดับไหน
เพราะมาร ย่อมติดตามไปถึงได้
ทุกข์หลาย ในอบายภูมิ
จงขจัดกิเลส ในตน
ให้หลุดให้พ้น ไม่เหลือแม้แต่ใย
เหมือนเด็ดบัวในยามแล้ง ง่ายๆ
แล้วจะได้ เข้าใกล้พระนิพพาน

;;;;;;;;;;