วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ธรรมหรือธรรมะ (มีลักษณะเป็นดวง) ธรรม หรือธรรมะ มีลักษณะ เป็นดวง เป็นธรรมชาติ เหนือสิ่งทั้งปวง มีคุณใหญ่หลวง ต่อชีวิต

ธรรมหรือธรรมะ
(มีลักษณะเป็นดวง)


ธรรม หรือธรรมะ
มีลักษณะ เป็นดวง
เป็นธรรมชาติ เหนือสิ่งทั้งปวง
มีคุณใหญ่หลวง ต่อชีวิต
ธรรม หรือธรรมะ
ก็เป็นพุทธวาจา สอนสั่ง
ให้ละบาป หาบุญ สุดกำลัง
หรือให้เดินตามทางธรรม ทางบุญ
ดวงธรรม หรือดวงบุญ
อยู่ที่ศูนย์ กลางกาย
มีหน้าที่ ดูแลใจ
เหมือนมารดา เอาใจใส่ บุตรน้อย

 กายจิตธรรม คือส่ำสัตว์
กายนั้นชัด เหมือนบ้าน
จิตคือเรา ทารก ดื้อรั้น
ธรรมมารดาท่าน ดูแลบ้านและทารก

บาปอธรรม เข้ามาปนเปื้อน
เหมือนสนิมเหล็ก กัดเหล็ก
กลายเป็นปุถุชน คนกิเลส
ใจเป็นเปรต กายเป็นคน

บุญ เป็นธรรมชาติ ขจัดบาป
เราคุ้นกับ ธรรมะชนะอธรรม
  บุญชนะบาป ขาวชนะดำ
บุญธรรมะ ชนะอธรรม ตลอดกาล
 
ดูระยะสั้น บาปนั้น ชนะ
ผู้มีปัญญา อดเปลี้ยว ไว้กินหวาน
ขันติ อดทนอดกลั้น
ขันติธรรม ปราบมาร ด้วยบารมี

 ;;;;;;;;;; 

ยอดคน (คนมีศีล) ศีล มาจากสิระ แปลว่ายอด หรือศีรษะ ยอดคน มีศีล เป็นธรรมดา ไม่ต้องรบก็ชนะ ศัตรูแพ้ใจ

 ยอดคน
(คนมีศีล)

ศีล มาจากสิระ
แปลว่ายอด หรือศีรษะ
ยอดคน มีศีล เป็นธรรมดา
ไม่ต้องรบก็ชนะ ศัตรูแพ้ใจ

ศีล เป็นเกราะ เป็นอาวุธวิเศษ
ป้องกันภัยเพท ทุกชนิด
ศีลเป็นสะพาน ให้ท่านสัมฤทธิ์
สำเร็จกิจทุกอย่าง กระทั่งพระนิพพาน

ผู้ทำร้าย ผู้มีศีลได้
ไม่ใช่ผู้ ไม่ใช่คน
เหมือนกับ ทำร้ายมารดาตน
ที่ทุกคน กราบไหว้
เก่งขนาดไหน ก็แพ้ภัยตน
จิตใจสับสน ไม่เป็นสุข
ร้อนรน ทุรนทุราย เป็นทุกข์
เหมือนถูก ไฟนรกสุม
ศีล เป็นที่มา สมบัติสาม
ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ
เป็นธรรมดา ธรรมชาติ
ผู้ศีลขาด สมบัติเป็นภัย
สมบัติเป็นภัย กินไม่อิ่ม
ความสุขเป็นสนิม ทุรนทุราย
เป็นคนพาล คนจัญไร
เป็นภัย สังคม
ผู้มีศีล สังเกตได้
ผู้คนเข้าใกล้ สงบเย็น
สำรวมมารยาท จะเห็น
นำสังคมอยู่เย็น เป็นสุข

;;;;;;;;;;

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อยากมีสุข (ละเหตุแห่งทุกข์ให้ได้) ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง ใจมีห่วง ผูกมัด ไม่อิสระ นั่นก็คือ กิเลสตัณหา หรือโลกียะ โลกภายนอก

 อยากมีสุข
(ละเหตุแห่งทุกข์ให้ได้)

ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
ใจมีห่วง ผูกมัด ไม่อิสระ
นั่นก็คือ กิเลสตัณหา
หรือโลกียะ โลกภายนอก
ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก
ใจไม่ตก มีเมตตากรุณา
เป็นใจ ของมารดา
คนไม่รู้สา ด้วยตัณหาพาเป็น

ความสงบระงับแห่งสังขาร เป็นสุข
ใจมีทุกข์ เพราะไม่หยุดไม่นิ่ง
การเจริญสติ จึงสำคัญจริงๆ
เกิดปัญญายิ่ง คนเหนือโลก

ความสุข ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี
ใจเรานี้ หยุดนิ่งได้
สันโดษสมถะ ฝึกใจ
สติสัมปชัญญะ ก็ใช่ ฝึกใจให้สงบ

นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
ใจหยุดใจนิ่ง ด้วยพ้นกิเลสตัณหา
พ้นกฎแห่งกรรม ของมารา
มีชีวาอมตะ พระนิพพาน
ความเกิดขึ้น แห่งผู้รู้ทั้งหลาย
ความรู้ ที่ทำใจให้หยุดให้นิ่ง
 นำสุขมาให้ จริงๆ
สุขอย่างยิ่ง ใจนิ่งใจหยุด
การแสดงสัทธรรม นำสุขมาให้
ได้ฟังแล้วชื่นใจ ใจใสสด
ธรรมทาน ยิ่งกว่าทานทั้งหมด
พระสุคต สรรเสริญ
ย่อมมี ความสุขเสมอ
ถ้าไม่พบเจอ คนพาล
ตัวเราเอง เป็นพาลสำคัญ
ขจัดมันให้ได้ พาลในตน
การประพฤติ แม้มีประโยชน์
กับคน ไม่อดกลั้น ไม่อดทน
แม้เป็นเรื่องดี เป็นบุญกุศล
 บุญหกหล่น กุศลไม่ได้

;;;;;;;;;;

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ศีลเป็นเลิศ (ปัญญาประเสริฐสูงสุด) ศีลเท่านั้น เป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มี ปัญญา ประเสริฐสูงสุด ความชนะในเทวดา และหมู่มนุษย์ ย่อมมีสูงสุด เพราะศีลและปัญญา

ศีลเป็นเลิศ
(ปัญญาประเสริฐสูงสุด)

มารนกรู้ พบที่อยู่ ผู้ทุศีล
มารสามารถดมกลิ่น ถึงถิ่นที่อยู่
แต่ไม่พบทาง ของท่านผู้รู้
ผู้อยู่ อย่างไม่ประมาท มีศีลสมบูรณ์
ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ
ไม่มีใดเทียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับ ประเสริฐสุด
 ศีลเยี่ยมยุทธ เป็นเกราะอัศจรรย์
ศีลเท่านั้น เป็นเลิศในโลกนี้
 ส่วนผู้มี ปัญญา ประเสริฐสูงสุด
ความชนะในเทวดา และหมู่มนุษย์
 ย่อมมีสูงสุด เพราะศีลและปัญญา
ศีลเป็นคุณรวมกำลัง อย่างเลิศ
ศีลประเสริฐ เป็นเสบียง สูงสุด
ศีลเป็นผู้นำทาง อย่างเยี่ยมยุทธ
เพราะศีล หอมที่สุด ไปทั่วทุกทิศ
ศีลเป็นสะพาน อันสำคัญ
 ศีลนั้น เป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้ ประเสริฐนักหนา
เพราะกลิ่นศีล ขจรไปทั่วหล้า ทุกทิศ

;;;;;;;;;;

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ยากจน จนยาก อยากจน (คนสามคนอยู่บนโลก) ยากจน จนยาก อยากจน คนสามคน อยู่บนโลก มีพฤติกรรมต่างกัน ควรยก เอามาสาธก อธิบาย เตือนใจคน

ยากจน จนยาก อยากจน
(คนสามคนอยู่บนโลก)

ยากจน นยาก อยากจน 
คนสามคน อยู่บนโลก
มีพฤติกรรมต่างกัน ควรยก
เอามาสาธก อธิบาย เตือนใจคน
 ยากจน มีทรัพย์น้อย หรือไม่มี
ตัวอย่างที่ดี คือคนขอทาน
ไม่มีที่กินที่นอน ไม่มีอาหาร
เที่ยวขอทาน ไปเรื่อย
  ในอดีตก่อนกี้ ไม่เคยทำทาน
ชาตินี้ จะเอาแต่ขยัน มันไม่ได้
 ขาดบุญวาสนา เมื่อยเปล่าดาย
ขยันไหลลงต่ำ นั้นไม่ใช่
 มีทรัพย์ ขึ้นกับบุญวาสนา
  ที่จะไหลมา ในวันนี้
 คอยวาสนา นั่นหนา โง่สิ้นดี
ทำบุญเต็มที่ หนีวิบากมาร
ทำบุญในวันนี้ เพื่อมีวาสนา
เอาบุญต่อบุญนั่นหละ น่าจะรู้
หลวงพ่อฯคุณยายฯ ท่านย้ำอยู่
บุญวาสนาทุกผู้ มีอยู่ แต่ไม่รู้จักใช้
 ส่วนคนอยากจน รนหาที่
 ทั้งตระหนี่ และโลภมาก
 ทุจริต ผิดศีลธรรม จมปลัก
 แผ่นดินหนัก เบียดเบียนสงฆ์
 คนอยากจน คนหัวสูง
ลุ่มหลงมัวเมา ลืมตัวเก่า ลืมตระกูล
เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง ใช้หนี้หัวหมุน
หมุนแล้วหมุน ไล่ใช้หนี้
ถือตน ว่าเป็นคนฉลาด
เก่งกาจ เรียนมาสูง
 สอนสั่ง ไม่ฟัง ทำหน้ายุ่ง
ชักจูงให้เข้าวัด อึดอัดขัดใจ
  คนจนยาก รักทำทาน การกุศล
กระตือลือล้น แสวงบุญสร้างบารมี
 เป็นกัลยาณมิตร ทุ่มชีวี
ศรัทธาเต็มที่ หนีกฎแห่งกรรม
มีทรัพย์ มีกินมีใช้ ไม่ลำบาก
เป็นคนน่ารัก เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
สงเคราะห์ญาติ ทุกคนไม่ว่าเด็กหรือแก่
โพธิสัตว์แท้ ลงมาเกิด
 ชีวิต แสวงบุญสร้างบารมี
มีดุสิตบุรี เป็นที่พักกลางทาง
ติดตามมหาปูชนียาจารย์ ไม่มีห่าง
ปราบไอ้ดำสุดทาง ถึงสุดธรรม

;;;;;;;;;;

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

มีศีลมีสุข (หมดทุกข์โศกโรคภัย) เวทมนตร์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง ไม่เกี่ยวข้อง ทุกข์สุข ในปรโลก ส่วนศีล ที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ไม่ตลก นำแต่สุข ไร้โศก สู่ปรโลกได้

 มีศีลมีสุข
(หมดทุกข์โศกโรคภัย)

เวทมนตร์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง
ไม่เกี่ยวข้อง ทุกข์สุข ในปรโลก
 ส่วนศีล ที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ไม่ตลก
 นำแต่สุข ไร้โศก สู่ปรโลกได้

ถ้าเป็นพหุสูต มั่นคงดีในศีล
 บัณฑิตทั้งสิ้น ย่อมสรรเสริญเขา
ด้วยคุณ ๒ ประการ ไม่เบา
 ด้วยศีลของเขา และด้วยสุตะ

ผู้มีศีล ไม่มั่นคง
 แม้ดำรง เป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีศีล สดใสมีราศี
 มีชีวี อยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า

พึงศึกษา ศีลในโลกนี้
เพราะศีลที่ ศึกษาดีแล้วนั้น
เสพแล้วในโลกนี้ เป็นสำคัญ
ย่อมแม่นมั่น นำมา ซึ่งสมบัติ
ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาสุข ๓
 ความสรรเสริญ ความได้ทรัพย์
 และบันเทิงในสวรรค์ จึงยินดีรับ
การปฏิบัติ รักษาศีล
ผู้มีศีล ย่อมได้มิตรมาก
ด้วยความรู้จัก สำรวมตน
ส่วนผู้ไม่มีศีล ไม่อดทน
 ผู้คน หนีหน้า
เมื่อภิกษุมีมานะ ถือตัว ประมาท
ใจขาดสติ ไม่อยู่ในตน
ศีลสมาธิ และปัญญา จึงสับสน
ใจดิ้นรน หวังในภายนอก

;;;;;;;;;;

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

หาทรัพย์นับว่ายาก (แต่ไม่มากเท่าสละทรัพย์) แสวงหาทรัพย์ นับว่ายาก แต่ไม่มากเท่า สละทรัพย์ สละตระหนี่ ต้องมีศรัทธากำกับ จิตหยาบ สละทรัพย์ไม่ได้

หาทรัพย์นับว่ายาก
(แต่ไม่มากเท่าสละทรัพย์)

 แสวงหาทรัพย์ นับว่ายาก
แต่ไม่มากเท่า สละทรัพย์
สละตระหนี่ ต้องมีศรัทธากำกับ
 จิตหยาบ สละทรัพย์ไม่ได้
 ความตระหนี่ เหนียวหนึบ
หนืดเหนียว ติดแน่นอยู่ที่ใจ
สละสิ่งภายนอก ทำไม่ได้
ด้วยใจมิจฉา ไม่เห็นประโยชน์
ความตระหนี่ นี้แพ้ศรัทธา
มีบุญญา ขจัดตระหนี่ได้
เกิดความสุขความใส สบาย
มีกำลังใจ ได้ชีวิตใหม่ แสนสุข
ตระหนี่ ตัวการ ขวางกั้นทรัพย์
 เหมือนกับ พยับแดด ที่เห็นได้
แต่ก็ลอย ถอยห่าง เมื่อเข้าใกล้
คนตระหนี่ คล้ายอิ่ม เมื่อมีทรัพย์
คนตระหนี่ มีวิบัติ ไม่ใช่สมบัติ
เหมือนกันชัด กับน้ำเค็ม เต็มทะเล
ยิ่งดื่มยิ่งกระหาย จบเห่
น้ำเต็มทะเล ดื่มไม่ได้
ทรัพย์คนดีมีน้อย พลอยได้พึ่ง
เหมือนน้ำบึงน้ำบ่อ พออาศัย
ทรัพย์คนชั่วมากมี ตระหนี่ใน
ดื่มไม่ได้ เหมือนน้ำเค็มเต็มทะเล
 ใจมีอายตนะ ดึงดูดและส่ง
 สมบัติตรง ไปยังผู้ใจใสใจดี มีบุญ
ส่วนบาป กลับทำใจให้ขุ่น
ใจวายวุ่น ดูดวิบัติ ขจัดลาภ
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งไหลยิ่งมี
เหมือนมหานที ไหลไม่หยุด
ขจัดตระหนี่ อย่าให้ผุด
สุดชีวิต บำเพ็ญทาน การกุศล

;;;;;;;;;;